การกำกับฯบริษัทที่มีประสิทธิผล (Effective Corporate Governance) บรรพ 3 2 Coporate Governance: นิยาม
โดย ดร.สมนึก จันทรประทิน
ที่ปรึกษา บริษัท มาร์เก็ตติ้ง กูรู แอสโซซิชั่น จำกัด Doctor of International Business Administration E- mail : mga01@mga.co.th
การชี้นำ (Directing) การควบคุม (Controlling) และความสำนึกรับผิดชอบ (Accountability)
ฉบับนี้ยังเรียนรับใช้ท่านผู้อ่านต่อด้วยเรื่อง ความสำนึกรับผิดชอบ (มารดาแห่งความโปร่งใสและอื่นๆ) นอกจากนี้ ความสำนึกรับผิดชอบยังหมายถึง / เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับประเด็นที่จำเพาะเจาะจงต่อไปนี้
8. เกี่ยวข้องกับความต้องการที่จะให้ความสำนึกรับผิดชอบ (รับทั้งผิดและชอบ ไม่ใช่รับแต่ชอบอย่างเดียว พอผิดก็หนี (หรือแสดง ความรับผิดชอบแค่การลาออก ซึ่งไม่เพียงพอ ถ้าผิดจริงต้องถูกจำคุก เช่นกรณีของ เจฟฟรีย์ สกิลลิน อดีตผู้บริหารของบริษัท Enron ที่ถูกจำคุก 24 ปี) นี่คือความขี้ขลาดไม่ใช่ความกล้าหาญ ซึ่งพบกันมากในผู้บริหารระดับสูง, CEO, Chairman และ Directors ทั้งไทยและเทศมากมาย) ต่อการดำเนินการต่างๆ ที่ได้ดำเนินไปแล้วและต่อผลลัพธ์การดำเนินงานต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั้งที่บรรลุและไม่บรรลุ 9. A/C เป็นสิ่งที่แสดงถึงกลไกเชิงป้อนกลับ (Feedback Mechanism) จากผู้ที่มีความรับผิดชอบ (ผู้ที่ดำรงตำแหน่งแห่งความรับผิดชอบ) ต่อกิจกรรมต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น 10. A/C เกี่ยวข้องหรือเป็นมากกว่าการรายงาน มากกว่าการเปิดเผย หรือความโปร่งใสแห่งสิ่งที่ได้ดำเนินการไปแล้ว แต่ยังหมายถึง สิ่งที่กว้างและลึกกว่านั้น กล่าวคือ ความต้องการความกล้าหาญที่ต้องถามว่า “ทำไม” (Why) (เช่น Directors หรือ BoDs ถาม CEO หรือ / สมาชิกของผู้บริหารระดับสูง (BoEs) ว่า “ทำไม?” “และ” ความกล้าหาญที่จะเผชิญหน้ากับผลลัพธ์ / หรือ ผลการดำเนินการต่างๆ 11. A/C ไม่ใช่เป็นแค่ดุลยพินิจแต่คือหรือเป็นสิทธิ์ (Rights) และหน้าที่ (Duties) ซึ่งเป็นสิ่งที่ “ต้อง” (Must) ต้องมี ต้องทำ ให้เกิดขึ้นไม่ใช่เป็นแค่ “เปิดเผย” หรือ “โปร่งใส” ที่มักจะนิยมใช้หรือเรียกกัน 12. A/C ต้องได้รับการรับรู้ รับทราบอย่างถูกต้องเหมาะสมว่า มีความหมาย (ที่ควรจะเป็น) กว้างขวางและแตกต่างไปจาก การเปิดเผยข้อมูลฯ ที่สมัครใจ (Voluntary Disclosure) กล่าวคือหมายถึงหลักแห่งจริยธรรมและคุณธรรม (Ethical and Moral Principle) ที่ครอบคลุมทั้งสภาพจิตใจ (สภาวะจิต) การดำเนินงาน การตัดสินใจต่างๆ ฯลฯ นอกจากนี้ A/C ยังมีความหมายที่ลึกซึ้ง อีกมากมายฯ ซึ่งผู้เขียนขอเรียนรับใช้พอสังเขปเท่านี้ ถ้าจะเรียนเสนอรายละเอียดมากกว่านี้ก็เขียนเป็นหนังสือได้ 1 เล่มครับ
ดังนั้น ผู้เขียนจึงไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับคำว่า “ความโปร่งใส” (Transparency) ซึ่งนิยมใช้หรือพูดกันทั่วไป กล่าวคือต้องให้ความสำคัญกับความสำนึกรับผิดชอบก่อน ซึ่งความสำนึกรับผิดชอบ (หรือภาวะจิตแห่งความสำนึกรับผิดชอบ) ต้องมาก่อนสิ่งใดๆ ทั้งหมดและเป็นต้นกำเนิดหรือเป็นมารดาของการเปิดเผย (ข้อมูลฯ) ความโปร่งใส ฯลฯ ดังนั้นการเปิดเผยข้อมูลฯ และความโปร่งใส (Transparency) จึงเป็นแค่ส่วนหนึ่งของ A/C เท่านั้น ซึ่งถ้าพิจารณาจากหลักแห่ง CG ของ OCED (1999) (ดังตารางที่ 1) นั้น รวมทั้งการแยกความสำนึกรับผิดชอบ / ความรับผิดชอบออกจากการเปิดเผยและความโปร่งใส นอกจากนี้หลักแห่ง CG ของ OECD ยังกำหนดความสำนึกรับผิดชอบเป็นส่วนหนึ่งของความรับผิดชอบ ซึ่งผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับหลักแห่ง CG ของ OECD (1999) (โดยที่ถูกต้องเหมาะสมแล้ว ความสำนึกรับผิดชอบต้องครอบคลุมและมาก่อนความรับผิดชอบ) จากความหมายทั้ง 12 ข้อและอย่างน้อย 4 ข้อ (คือข้อ 8 - 12) โดยเฉพาะข้อ 11 ที่ได้เรียนเสนอข้างต้นนั่นเอง (“ต้อง” ไม่ใช่ “ควร”)
สรุปสั้นๆ ก็คือ สำหรับในแง่ของ CG แล้ว ถ้าไม่มีความสำนึกรับผิดชอบแล้ว อื่นๆ ไม่ต้องพูดถึง ดังนั้นความสำนึกรับผิดชอบต่อผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย (เช่นผู้ถือหุ้นฯ) จึงเป็นหัวใจและจิตวิญญาณที่สำคัญอย่างยิ่งยวดมากที่สุดของ CG และการกำกับฯ บริษัทที่มีประสิทธิผล (ECG)
การควบคุมและความสำนึกรับผิดชอบ สำหรับการควบคุมและความสำนึกรับผิดชอบนั้น แม้ว่าจะเป็นและครอบคลุมกิจกรรมต่างๆ ที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ดี ทั้งการควบคุมและความสำนึกรับผิดชอบนั้น มีลักษณะที่เสริมกันอย่างมาก และสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดมาก โดยพิจารณาจากความหมายของ CG (ที่มีแง่มุมที่แคบกว่าที่ได้เรียนเสนอในบรรพ 2) ที่ว่า CG คือ ระบบหนึ่งของโครงสร้างต่างๆ และกระบวนการต่างๆ ที่จะทำให้ได้มาซึ่งความสามารถในการดำรงอยู่ / อยู่รอด (Viability) (ซึ่งในที่นี้หมายถึง การสร้างและคงรักษาไว้ซึ่งความสามารถเชิงแข่งขันในระยะยาวของบริษัท) รวมทั้งความถูกต้องเหมาะสม สอดคล้องทางกฎหมาย (Legitimacy) ของบริษัท (ซึ่ง Legitimacy ในที่นี้หมายถึง การมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในแง่กฎหมายและปรัชญาของบริษัท การปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดให้ถูกต้องตามกฎหมายและปรัชญาของบริษัท ซึ่งต้องดำเนินการด้วยความเฉลียวฉลาด ความละเอียดอ่อน ไหวพริบ ฯลฯ)
สำหรับแง่มุมของความอยู่รอดฯ และความถูกต้องตามกฎหมายฯ นั้น คือสิ่งที่เป็นพื้นฐานที่สุดและสอดคล้องกับความหมายของ CG ที่ศาสตราจารย์ Demb และ Neubauer ได้เสนอไว้ว่า CG หมายถึง กระบวนการซึ่งบริษัทฯ ได้ดำเนินการในการตอบสนองต่อสิทธิ (Rights) และความปรารถนา (Wishes) ของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย นั่นเอง
ฉบับหน้าผู้เขียนขอเรียนรับใช้ต่อด้วยบรรพ 4: CG ที่ไม่มีประสิทธิผลรวมทั้งการปรับปรุงแก้ไข เปลี่ยนแปลง เชิงบวกและมาตรการการปฏิรูป
ตารางที่ 1: หลักแห่ง CG ของ OECD (1999) |
หลัก |
อรรถาธิบาย |
1. สิทธิของผู้ถือหุ้น |
1. กรอบ (Framework) ของCG ควร (Should) ปกป้องสิทธิของผู้ถือหุ้น (ซึ่งหลักทุกข้อของ CECD ผู้เขียนขอเรียนวิพากษ์ว่าไม่ควรใช้คำว่า “ควร” แต่ต้องใช้คำว่า “ต้อง” แทน (โดยเฉพาะตามความหมายข้อ 11 ที่ได้เรียนเสนอข้างต้น) |
2. การปฏิบัติหน้าที่ที่เท่าเทียมกันต่อผู้ถือหุ้น |
2. กรอบของ CG ควรทำให้เกิดความมั่นใจว่ามีการปฏิบัติที่เท่าเทียมกันต่อผู้ถือหุ้นทั้งหมด (ดังที่เกิดปัญหาต่างๆ ในทางปฏิบัติมากมายเกิดขึ้นในแง่ผู้ถือหุ้นส่วนน้อย เมื่อใช้คำว่า “ควร”) |
3. บทบาทของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในแง่ CG |
3. กรอบของ CG ควรทำให้เกิดความตระหนักถึงสิทธิของผู้ที่มี ส่วนได้ส่วนเสียตามที่กำหนดโดยกฎหมายและสนับสนุนส่งเสริม ความร่วมมืออย่างกระตือรือร้น ในระหว่างบริษัทและผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ในการสร้างสรรค์ความมั่งคั่ง งานและความสามารถในการคงไว้ซึ่งบริษัท ที่มีสถานภาพทางการเงินที่มั่นคงเหมาะสม |
4. การเปิดเผยและความโปร่งใส (Disclosure and Transparency) |
4. กรอบของ CG ควรทำให้เกิดความมั่นใจว่าได้ดำเนินการเปิดเผย (ข้อมูลฯ) ที่ตรงเวลา ที่ถูกต้องในทุกประเด็น เรื่องราวที่เกี่ยวเนื่องกับบริษัท เช่น สถานการณ์ทางการเงิน ผลการดำเนินงาน ความเป็นเจ้าของและการกำกับฯ บริษัท |
5. ความรับผิดชอบ (Responsibilities) ของ BoDs |
5. กรอบของ CG ควรจะทำให้เกิดความมั่นใจว่ามี : 1. แนวทางชี้นำเชิงยุทธ์ 2. การกำกับฯ ดูแล การติดตาม ตรวจสอบผลการดำเนินงานของผู้บริหาร (BoEs) โดย BoDs และ 3. ความสำนึกรับผิดชอบ (Accountability) ของ BoDs ต่อบริษัทและผู้ถือหุ้น
|
Deprecated: Function mysql_numrows() is deprecated in /home/mga/domains/mga.co.th/public_html/includes/class_database.php on line 995
Bookmark | ส่งหน้านี้ให้เพื่อน
|